แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
แนวทางการดำเนินงาน, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, เทคโนโลยีดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา การวิจัยมี 2 ระยะ คือ 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 205 คน จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ ตารางของเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ใช้วิธี่การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการคัดกรองนักเรียนรองลงมาคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การส่งต่อ 2) แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา ประกอบไปด้วย 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เช่น สถานศึกษาควรมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เก็บข้อมูลหรือติดตามพฤติกรรมนักเรียน ที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก ด้านที่ 2 ด้านการคัดกรองนักเรียน(กลุ่มมีปัญหา) เช่น สถานศึกษาควรมีการใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง ด้วยโปรแกรมบริหารสถานศึกษา ในการคัดกรองนักเรียน เก็บข้อมูล หรือติดตามพฤติกรรม ด้านที่ 3 ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน เช่น สถานศึกษาควรมีการใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง ในรูปแบบ Online ด้วย Google Meet ในการประชุมผู้ปกครองที่มีความสะดวก ด้านที่ 4 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน เช่น สถานศึกษาควรมีการใช้อุปกรณ์สื่อสาร มือถือหรือไอแพด ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองเพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้น ด้านที่ 5 ด้านการส่งต่อ เช่น สถานศึกษาควรมีการใช้แอปพลิเคชันเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook หรือ Line เป็นช่องทางในการประสานงานการส่งต่อ กับครูที่ปรึกษา นักจิตวิทยา หรือผู้บริหาร
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน.กรุงเทพ: บริษัทยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดําเนินงานระบบดูแลชวยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎรธานี. ใน การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.
แพรพลอย พัฒนะแสง. (2565). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. ใน การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สิงห์บุรี อ่างทอง. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สิงห์บุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สิงห์บุรี อ่างทอง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
(2559). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง.(2566). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2566. อ่างทอง: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2566. จากhttps://shorturl.asia/ux8BY