แนวทางการบริหารงานวิชาการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบล ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุวดี ศรีจันทรา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กาญจน์ เรืองมนตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, แนวทาง, องค์กรปครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

แนวทางการบริหารงานวิชาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับปฐมวัย งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยและแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเทศบาลตำบล จังหวัดขอนแก่น เพื่อยกระดับการจัดการศึกษาอย่างยั่งยืน

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
และความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบล
ในจังหวัดขอนแก่น และ 2) พัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การวิจัยใช้วิธีผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน
สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร
ครู และคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 285 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ส่วนระยะที่ 2 พัฒนาแนวทาง
การบริหารวิชาการ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 คน ใช้แบบสัมภาษณ์
มีโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง การวิเคราะห์
เชิงคุณภาพใช้การพรรณนาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
ด้านการวัดผลและประเมินผล ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศการศึกษา
และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการประกอบด้วย 5 ด้าน 26 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ของแนวทางพบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงมหาดไทย. (2547). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักประสานงาน และพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น

กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธนกฤต หัตถีรัตน (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 34– 49.

ธเนศพล อินทร์จันทร์ (2563). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 127-136.

พนม วิลัยหล้า. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ลภัตสดา นราพงษ์ (2562). แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 25(2), 184-196.

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นสถานศึกษา ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภา

นิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุทธินันท์ พรหมสุทธิ์, ศิรประภา พฤทธิกุล, และเชวง ซ้อนบุญ. (2566). สภาพและปัญหาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 861-878.

สุนันท์ สีพาย, สุภีร์ สีพาย, และสุชาติ ทองมา. (2566). การพัฒนาผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเชาว์ปัญญา (IQ) เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(5), 781-798.

Katzenbach, J. R., & Smith, D. K. (2003). The discipline of teams. Harvard business review, 83(7), 162.

Kirby, M. M., & DiPaola, M. F. (2011). Academic optimism and community engagement in urban schools. Journal of Educational Administration.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (April 1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Journal Education and Psychology Measurement. 3 (30) : 607 -610.

Mbatha, M. V. (2004). The principal's instructional leadership role as a factor influencing academic performance: a case study (Doctoral dissertation, University of South Africa).

Scriven, M. (1991). Evaluation thesaurus. Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30