การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาและ 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 10 คน และครูสายผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 310 คน รวมทั้งสิ้น 320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบฟอร์มออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 มีการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก
- ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 พบว่า รองผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างและมีภาวะผู้นำทางวิชาการที่ดี 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรรับฟังข้อมูลย้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุน หรือมีแนวปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ หรือข้อตกลงของสถานศึกษาและมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระหรือหน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสในการบริหารสถานศึกษา 5) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการดูแลสื่อ และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย 6) ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้เครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อระดมทรัพยากรทางการศึกษา ร่วมหา ร่วมสร้าง ร่วมใช้ให้เกิดความคุ้มค่ากับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไปและ 7) ผู้บริหารสถานศึกษาควรตระหนักและรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของงาน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์
ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: น้ำฝน
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง
นันทพล เรืองริวงศ์. (2552). ศึกษาการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกลุ่มเครือข่ายเทวาธิราชตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพฑูรย์ ดอกบัว. (2550). พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-3 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ของมหาวิทยาลัยของรัฐและ หน่วยราชการอื่นของไทย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร: พิษณุโลก.
Casey-Cooper, M. (2005). Educational governance of the Morongo Unified School District (California). Retrieved from: http://wwwlib.umi.com/dissertations/preview/3166794.