การพัฒนาตัวชี้วัดและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • อนัญญา บรรยงพิศุทธิ์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิศวะ อุนยะวงษ์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนาตัวชี้วัด, แนวทางการพัฒนาศักยภาพ, ผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัล และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview Form) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย จำนวน 3 บริษัท กลุ่มผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 ราย และกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ จำนวน 2 ราย เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัลใน 5 มิติ ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์องค์กร การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การบริหารข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรจะต้องเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ และการพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัลเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งตัวชี้วัดที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจโลจิสติกส์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า การพัฒนาระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศ การร่วมมือกับพันธมิตร และการพัฒนาทักษะของบุคลากรยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล 2) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัล สามารถแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) การสร้างความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน 3) การพัฒนาทักษะและการฝึกอบรม 4) การพัฒนาและนำเสนอบริการที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง 5) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 6) การติดตามและวัดผลประสิทธิภาพ และ 7) การปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มใหม่ ๆ

References

กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ. (2562). ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยถึงเวลาต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีคิดนำเทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการเปลี่ยนคู่แข่งเป็นพันธมิตร. กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, 72.

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2562). Logistics Trends 2019. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 2(1).

กองโลจิสติกส์, กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. เรียกใช้เมื่อ 13 กันยายน 2566 จาก http://110.78.5.95/user-manual

ภูวณ อัษวกรนิฤางกูร. (2562). การปรับตัวของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ฉบับเสริม, ธันวาคม 2562, 16-30.

ธนวิทย์ ฟองสมุทร์. (2563). การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์: เครื่องมือสำคัญสู่การพัฒนาโลจิสติกส์ในองค์กร (Logistics Scorecard). ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 (หน้า 558-567). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศิริพรรษา ทองกำเนิด. (2563). การยกระดับดิจิทัลในห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืน. ใน รายงานการวิจัย. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Digital Development Plan for Economy and Society. (2016). Digital Thailand. Retrieved June 30, 2024, from https://www.dga.or.th/upload/download/file_9fa5ae40143e13a659403388d226efd8.pdf.

The Division of Logistics System Development Strategy. (2019). Logistics Trends 2019. The Division of Logistics System Development Strategy, 2(1), January-March, 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30