ทัศนคติของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณลักษณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, ครูพี่เลี้ยง, นักศึกษาฝึกประสบการณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณลักษณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูพี่เลี้ยงที่ดูแลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 30 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นคุณลักษณะของนักศึกษา เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.28-0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม
ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 6 ด้าน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.24 อยู่ในระดับมาก ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.16 อยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.13 อยู่ในระดับมาก ด้านทักษะทางปัญญา มีค่าเฉลี่ย 4.05 อยู่ในระดับมาก ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 4.03 อยู่ในระดับมาก และด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ย 3.93 อยู่ในระดับมาก
References
กิตติมา เก่งเขตรกิจ, เกียรติศักดิ์ ล้วนมงคล และอรอุมา สอนง่าย. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณวิชาชีพครูสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 23(1), 1-10.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวินันท์ การะเกษ. (2556). ความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีต่อศักยภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ใน รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2567). แผนปฏิบัติการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพิมพ์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สายชล เทียนงาม และบุญเรียง ขจรศิลป์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะครูที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยราชภัฎ: การวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 212-225.
สิริรัตน์ หอมชื่นชม. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สภาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุธีรา ราษฎรินทร์ และสุริยนต์ กันทิพย์วรากุล. (2565). ทัศนคติของครูพี่เลี้ยงและความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. Journal of Faculty of Physical Education, 25(1), 36-43.
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์, ธนาศักดิ์ ฉิมอ่อน และวิษณุ ตำปาน. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(1) (มกราคม – มิถุนายน 2564), 228-255.
สิริรัตน์ หอมชื่นชม. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สภาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุธีรา ราษฎรินทร์ และสุริยนต์ กันทิพย์วรากุล. (2565). ทัศนคติของครูพี่เลี้ยงและความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. Journal of Faculty of Physical Education, 25(1), 36-43.
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์, ธนาศักดิ์ ฉิมอ่อน และวิษณุ ตำปาน. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(1), 228-255.
อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2558). เอกสารประกอบการอบรม “ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง : การวิจัยเชิงปริมาณ. ใน โครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) วันที่ 1-2 ธันวาคม 2558 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.