การพัฒนากระบวนการคุ้มครองเด็กในสถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก กรมกิจการเด็กและเยาวชนกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
คำสำคัญ:
กระบวนการคุ้มครองเด็ก, สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก, กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการคุ้มครองเด็กของทีมสหวิชาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในกระบวนการคุ้มครองเด็กของทีมสหวิชาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการคุ้มครองเด็กของทีมสหวิชาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการคุ้มครองเด็ก ได้แก่ ดำเนินการตามกระบวนการรับเข้าที่กำหนด สืบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับเด็ก วิเคราะห์สภาพปัญหาต่าง ๆ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ประเมินผลการดำเนินงาน ทดลองให้เด็กเยี่ยมบ้านและติดตามผล นำผลการติดตามทดลองเยี่ยมบ้าน 1 ปี มาพิจารณาเพื่อยุติการให้ความช่วยเหลือ 2) ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในกระบวนการคุ้มครองเด็ก ได้แก่ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับบทบาท ภารกิจ และเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ บุคลากรมีจำกัด ส่งเอกสารเด็กไม่ครบถ้วน ขาดการสื่อสารที่ชัดเจน เด็กทะเลาะกัน งบประมาณไม่เพียงพอ เด็กไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร ไม่มีการประชุมเพื่อทำการยุติการให้บริการ 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการคุ้มครองเด็ก ได้แก่ ควรประชาสัมพันธ์วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มปฏิบัติงาน จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะเด็ก ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหา ติดตามเด็กหลังกลับสู่ครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อยุติการให้บริการทุกครั้ง
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของสถานรองรับเด็ก.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานตามแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2545-2549) บทที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.msociety.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/ewt_news.php?nid=2227.
ชมพูนุช พัฒนพงษ์ดิลก. (2558). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวของศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิตยาภรณ์ ดีแก้ว. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพกลไกการคุ้มครองเด็กของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ภายใต้การปฏิบัติงานของบ้านพักเด็กและครอบครัว: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดน่าน. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รจเรข โกมุท.(2553). การส่งเสริมการทำงานของทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรม จังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชนี ฉลองเกื้อกูล และคณะ. (2546). คู่มือการจัดกิจกรรมกลุ่มบําบัดฟื้นฟูจิตใจเด็กถูกกระทำรุนแรงสำหรับบุคลากรจิตเวช. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลศรีธัญญา.
ลดาวัลย์ ปัญตะยัง. (2554). การพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 225-239.
วิภา ขันธรรม. (2557). การพัฒนาบริการด้านการบำบัดฟื้นฟูเด็กที่ถูกทารุณกรรมในสถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมศักดิ์ พู่รัตนะ. (2552). การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. ศ. 2546 ของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อัยลดา ราชตัน. (2555). การพัฒนาความร่วมมือของคณะอนุกรรมการสหวิชาชีพในการคุ้มครองสิทธิเด็กจังหวัดลำพูน. ใน การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.