แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา,, ภาวะผู้นำทางวิชาการ,, ผู้บริหารสถานศึกษา,, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา,, เพชรบูรณ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ จำนวน 317 คน โดยเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน และผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 9 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการสอน ด้านการกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการจัดการหลักสูตรการสอน และด้านการกำหนดพันธกิจ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ 1) ด้านการกำหนดพันธกิจของโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียนโดยให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน 2) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน ผู้บริหารสถานศึกษามีการวางแผนร่วมกับคณะครูในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการนิเทศการสอน ผู้บริหารสถานศึกษามีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนอย่างไม่เป็นทางการสนับสนุนด้านการสอน 4) ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปรึกษาหารือความก้าวหน้าของนักเรียนด้วยวิธีการประชุม ใช้ข้อมูลอย่างหลากหลาย และ 5) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนจัดให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างหลากหลาย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายการพัฒนางานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จารุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพ็ญนภา พลับฉิม. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ทัศนา วรรณประภา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เนตรนภา สุวรรณโชติ. (2563). การวิเคราะห์ความตรงของเครื่องมือวิจัยในรูปแบบดัชนี IOC. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษา, 10(2), 98-105.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: พริ้นเตอร์กรุ๊ป.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์. (2564). รายงานผลการดำเนินงานด้านวิชาการ และผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564. เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์.
เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Krug, R.E. (1992). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
McEwan, E.K. (1998). Seven Steps to Effective Instructional Leadership. California: Corwin Press, inc.