แนวทางการนิเทศแบบคลินิกโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
แนวทาง, การนิเทศแบบคลินิกโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ, ความต้องการจำเป็น, การประเมินแนวทางบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศแบบคลินิก 2) ออกแบบแนวทางฯ และ 3) ประเมินแนวทางฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 360 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินแนวทาง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันของการนิเทศแบบคลินิกโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการสังเกตการสอน 2) ด้านการประชุมนิเทศ 3) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม 4) ด้านการประชุมก่อนสังเกตการสอน และ 5) ด้านการประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมนิเทศ
- การออกแบบแนวทางการนิเทศแบบคลินิกโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือประกอบด้วย 1) ด้านการสังเกตการสอน 2) ด้านการประชุมนิเทศ 3) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม 4) ด้านการประชุมก่อนสังเกตการสอน และ 5) ด้านการประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมนิเทศ
- การประเมินแนวทางการนิเทศแบบคลินิกโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
ธัญพิชชา อุ่นรัมณ์. (2654). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิพนธ์ ไทยพานิช. (2535). การนิเทศแบบคลินิก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปนัดดา หมอยา และธรินธร นามวรรณ. (2561). การพัฒนาระบบการนิเทศแบบสอนแนะในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(69), 52-61.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.
สถาพร สมอุทัย. (2565). การนิเทศการศึกษาหนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สุชาติ เง็กนิกร. (2546). การนิเทศแบบคลินิก เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภัทรา จิตร์เพ่ง. (2549). การนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดกิจกรรมแนะแนวของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ โมใหญ่. (2557). การนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดกิจกรรมแนะแนวของครูโรงเรียนบ้านทุ่งสีเสียด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Glatthorn, A. A. (1984). Differentiated supervision. Washington D.C.: Assonciation Forsupervision and Curriculum Development.
Gold hammer, R. Anderson, R.H. & Krajewski, R.J.. (1993). Clinical Supervision: Special Methods. For the Supervision of Teachers. 3rd ed. Fort Worth: Harcourt Brace Jovanovich College Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610