การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs)
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs) 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบำรุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ทดลองจำนวน 5 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด, 33.
กฤษณะ โต๊ะดำ และคณะ. (2565). กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เฉลิม ฟักอ่อน. (2562). พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษ 21 ด้วย LS PLC และ C0-5 Steps. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จากhttps://www.facebook.com/groups/127333997419089
ธัญญารัตน์ สุขเกษม. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ ขั้นตอน (5 STEP) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ เรื่อง วิวัฒนาการ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ทาง วิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(2), 24-36.
เบญจพร วรรณูปถัมภ์ และคณะ. (2566). การพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยบุรีรัมย์, 9(1), 15-27.
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทิศนา แขมมณีและ คณะ.(2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา.
พระครูปริยัติคุณรังสี. (2559). การพัฒนาศักยภาพนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์, 1(2),115-129.
พิชญะ กันธิยะ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบัน ได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข และพรเทพ จันทราอุกฤษฏ์. (2566). การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ.(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรวุฒิ ยิ่งนอก. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องทรัพยากรธรณี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 124.
ภคนัน แช่มรัมย์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวกลางของแสง ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ CO-5 STEPs โดยใช้วิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน คุรุสภาวิจารย์, 51-61.
รวิวรรณ พงษ์พวงเพชร. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่12). เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อาภา วรรณฉวี. (2564). การคิดวิเคราะห์. เรียกใช้เมื่อ สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567 จาก https://bsru.net,
Bloom, B.S.. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educationalgoals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay. California: Corwin Press.
Cambridge International Education Teaching and Learning Team (2022). Getting started with Active Learning. Retrieved 15 January 2024. From https://www.cambridgecommunity.org.uk/professional- development/gswal/index.html.
Center for Teaching Innovation (2022). Active Learning. Retrieved 15 January 2024. From https://teaching.cornell.edu/teaching-resources/active-collaborative-learning/active-learning,
Ennis, R.H. (1985). A logical Basic for Measuring Critical Thinking Skill, Educational Leadership. 43 (October, 1985). 45-48.
Gall, M. D. Brog and Gall, J. P. (1996). Education Research : An Introduction. 6th ed. New York : Longman Publisher.
Hepp, M. & Hoffner, Y., (2014). : Personality-Aware Collaborative Filtering: An Empirical Study in Multiple Domains with Facebook Data, EC-Web 2014, LNBIP 188, pp. 113– 124, 2014. c Springer International Publishing Switzerland.
Kustyarini, K. (2020). "Self Efficacy and Emotional Quotient in Mediating Active LearningEffect on Students’ Learning Outcome”. International Journal of Instruction,13(2),663-676.