รูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหาร, งานบุคคลที่มีคุณภาพ, โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาบทคัดย่อ
วิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรขององค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และ 3) เพื่อประเมินผลและรับรองรูปแบบการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จำนวน 197 แห่งๆ ละ 3 รูป/คน รวม 591 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พบว่า องค์ประกอบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 44 ตัวแปร
- รูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพด้านการพัฒนา 2) การบริหารงานบุคคลที่มี 3) การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพด้านการวางแผน 4) การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพด้านการธำรงรักษา 5) การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพด้านการจัดบุคลากรให้ปฏิบัติงาน
- รูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้รับการประเมินและรับรองว่ามีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย ผ่านการประเมินคิดเป็น ร้อยละ 100
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กองพุทธศาสนศึกษา. (2566). สถิติข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2566 จาก https://deb.onab.go.th.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2551). ประวัติพระอารามหลวงเล่ม 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (พ.ศ. 2553 – 2562). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระมหาชัยวัฒน์ จตฺตมโล (พรหมสนธิ). (2562).รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.
พระครูวิสุทธิสีลาภิวัฒน์ (เมธาภิวัฒน์ ฐิติโก). (2563). การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้านการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน, 9(1), 69-80.
สงกรานต์ ตะโคดม. (2563). ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Good, Carter V. (2005). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
Krejcie, R. & Morgan. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.
McMillan, J.H., & Schumaher, S. (2010). Research in Education. 5th ed. New York : Addison Wesley Longman, Inc.