บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในทศวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ผู้แต่ง

  • เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • วิชัย ประทุมไทย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • วรรณภา นันทะแสง คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • กนกอร ทองศรี คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, ครูในทศวรรษที่ 21, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2)เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของครูในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูในศตวรรษที่ 21 และ 4)เพื่อเปรียบเทียบความคาคหวังของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา บทบาทหน้าที่ของครู และทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรที่ศึกษา เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เข้าอบรม จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่นระดับมากที่สุด    คือ 1) เน้นการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล 2) มีความเป็นมืออาชีพที่ดีในฐานะผู้นำองค์กร
    3) ใช้ทักษะหลากหลายในการแก้ไขปัญหา
  2. ความคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด คือ 1) ครูต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้ 2) ครูต้องเป็นแบบอย่างทางคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม 3) ครูต้องมีความรู้และทักษะในวิชาที่สนเป็นอย่างดี
  3. ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ได้แก่ 1) การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลทักษะการวางแผน 2) การใช้เทคโนโลยี 3) การแก้ปัญหา 4) การสื่อสาร และ
    5) การตัดสินใจ
  4. การเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาและครู พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคาดหวังในบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาเหมือนกัน แต่มี 2 เรื่องที่แตกต่างกันคือ (1) มีความเป็นมืออาชีพที่ดีในฐานะผู้นำองค์กร และ (2) ส่งเสริมการพัฒนาและความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคาดหวังในบทบาทของครูเหมือนกัน แต่มีบางเรื่องที่แตกต่างกัน เช่น (1) ครูเป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูและผู้ให้ (2) ครูต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้ (3) ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
    3) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคาดหวังในทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและครู แต่มีบางทักษะที่แตกต่างกัน คือ (1) ทักษะการวางแผน (2) ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (3) ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี และ (4) ทักษะการเสริมพลังอำนาจ

References

กานต์ บุญศิริ. (2557). ภาวะผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8 (1), 3-15.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.

ถวิล อรัญเวช. (2544). นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารวิชาการ. 3(4), 15-19.

ภาศกร เรืองรอง และคณะ. (2556). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(พิเศษ),195-205.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549 - 2553). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2567). ข้อมูลอัตรากำลังในสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://lookerstudio.google.com.

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563).การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 5(6), 365-373.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30