รูปแบบการบริหารจัดการเชิงพุทธโรงเรียนพระปริยัติธรรม เจ้าพยาบดินทร์เดชา วัดมหาธาตุวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการเชิงพุทธ, เจ้าพยาบดินทร์เดชา, รูปแบบ, โรงเรียนพระปริยัติธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเชิงพุทธที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมเจ้าพยาบดินทร์เดชา วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดยโสธร 2) วิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมเจ้าพยาบดินทร์เดชาในบริบทของการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม และ 3) เสนอรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพุทธที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในอนาคต เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษา จำนวน 120 รูป/คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าพารามิเตอร์ (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ศึกษา จำนวน 13 รูป/คน เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม ทำการตรวจสอบสามเส้าข้อมูล ตีความ วิเคราะห์ สังเคราะห์และอภิปรายผลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการองค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.10, σ= 0.96) 2) โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมเจ้าพยาบดินทร์เดชาในบริบทของการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม มี 5 ประเด็น คือ (1) โครงสร้างการบริหารจัดการ (2) การบริหารจัดการโดยยึดหลักพรหมวิหาร 4 (3) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (4) การมีส่วนร่วมของชุมชนและการสนับสนุนจากภายนอก และ (5) การใช้หลักธรรมในการบริหารจัดการ และ 3) รูปแบบการบริหารจัดการเชิงพุทธที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในอนาคต มี 7 ประเด็น คือ (1) การใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา (2) การบริหารจัดการโดยยึดหลักพรหมวิหาร 4 (3) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (4) การใช้หลักอริยมรรคมีองค์แปด (5) การบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนโดยใช้หลักการของสังคหวัตถุ 4 (6) การใช้หลักโยนิโสมนสิการในการตัดสินใจ และ (7) การพัฒนาศักยภาพของผู้นำทางการศึกษาในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เขียน วันทนียตระกูล, สมนึก นาห้วยทราย, และชุติมา มุสิกานนท์. (2567). แนวทางการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดลำพูน. วารสารปัญญา, 31(1), 12-19.
พระครูนิวิฐธรรมานุศาสน์, พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ), พระมหาอุดร อุตฺตโร, และนิพนธ์ ขาวเอี่ยม. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเชิงพุทธของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 1-12.
พระปลัดศุภชัย สุนฺทโร, พระมหาถนอม อานนฺโท, พระมหาพจน์ สุวโจ. (2567). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 9(1), 173-186.
พระครูปริยัติเจติยคุณ, พระฮอนด้า วาทสทฺโท, และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2567). สมรรถนะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 7(1), 284-301.
พระมหายุทธนา ตุ้มอ่อน. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 23(1), 257-266.
สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาวุฒิสภา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาวุฒิสภา.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2556). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การพัฒนาการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. (พุทธศักราช 2553-พุทธศักราช 2562). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
หวิน จำปานิน. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเชิงพุทธบูรณาการของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชาติ เศวตบดี. (2566). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในอนาคตภาพ.วารสารชมรมบัณฑิตศิลป์, 1(1), 22-31.