การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย
คำสำคัญ:
การพัฒนาการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ, บทเรียนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาแบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ 1) บทเรียนออนไลน์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.87/76.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนแบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับบทเรียนออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.47, S.D.=0.50)
References
กัลญารัตน์ เทพบุตร. (2561). การจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฐานิตา ลิ้มวงษ์ และ ยุพาพร แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 (21 Century Skills). วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 6(2), 9-17.
บุญกนก ปิยะนิตย์, มานพ แจ่มกระจาง และสิริยุพิน ศุภธ์นัชภัคชนา. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับเรื่อง การใช้โปรแกรม Microsofe Powerpoint สำหรับนักเรียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 15 (2), 61-71.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม และกาญจนา พรมเรืองฤทธิ์. (2561). ประสิทธิผลของการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 11 (3), 64-78.
รสกรณ์ พลรัตน์, สำราญ กำจัดภัย และสมพร หลิมเจริญ. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการประเมินด้วยแฟ้มสะสมผลงาน เรื่อง ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(16), 161-171.
วิจารณ์ พานิช. (2556. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
วิทยาลัยสันตพล. (2566). รายงานผลการจัดการเรียนรู้วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (มคอ.5). อุดรธานี: คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อัครินทร์ ทองขาว. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อกิจกรรมแบบย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญานโดยใช้เครือข่ายสังคมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Wenglinsky, H. (2006). Technology and Achievement: The Bottom Line. Educational Leadership, 63(4), 29-32