ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, , การพัฒนาท้องถิ่น, เทศบาลนครสงขลาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยได้แก่ เชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชุมชนร่วมใจพัฒนา จำนวน 346 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเมื่อพิจาราณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบทบาทบาทสังคมและสาธารณสุข และด้านพัฒนาเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ
2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนร่วมใจพัฒนา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่า ปัญหา มีการวางขายสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าบนทางเท้าทำให้การสัญจรไม่สะดวก ปัญหาการว่างงาน และในเรื่อง มีเสียงรถมอเตอร์ไซค์ดังรบกวนจากการซิ่งรถ และ อสม ไม่ค่อยมีบทบาทในการแจ้งข่าวสารแนวทางแก้ปัญหา กำหนดพื้นที่ขายสินค้าให้กับประชาชนและ ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีอาชีพเสริม และตั้งจุดตรวจและกวดขันการใช้รถใช้ถนนในชุมชน และกำหนดให้ อสม เข้าเยี่ยมบ้านประชาชนในชุมชนทุกสัปดาห์
References
กิติมา ปรีดีดิลก. (2529). ทฤษฎีการบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ชนะการพิมพ์.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539) การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมปกครอง.
ธงชัย สันติวงษ์. (2559). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ผ่องผิว อุไรกุล. (2546) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เทศบาลนครยะลา. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วัลลภา ชายหาด (2532). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะ ด้านรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร วงษ์สวัสดิ์. (2559). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุดารัตน์ เงินมูล. (2560). ความต้องการของประชาชนต่อบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสิเกา อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. ใน สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อนันต์ อนันตกูล. (2561). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมเนศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.
อรทัย ทวีระวงษ์. (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.