ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน กับชุมชนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
คำสำคัญ:
ปัจจัยการบริหาร, การสร้างความสัมพันธ์, โรงเรียนกับชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชน 2) ศึกษาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ 4) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจำนวน 335 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเฟียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูผู้สอน ด้านกลยุทธ์การพัฒนา และด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการนำโรงเรียนออกสู่ชุมชน และด้านการนำชุมซนเข้ามาสู่โรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง กับ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ4) ปัจจัยการบริหารทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านครูผู้สอน ด้านกลยุทธ์การพัฒนา และด้านการมีส่วนร่วม ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้ร้อยละ 66.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กนกวรรณ สุภาราญ. (2563). เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www. educathai.com.
กลุ่มนโยบายและแผน. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.
กัญจนพร ศรีมงคล. (2565). การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรการพิมพ์.
เจริญพร มะละเจริญ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับบทบาท การดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน, วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ.10 (2) : 13-43.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเพพมหานคร: อมรการพิมพ์.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประสงค์ ถึงแสง. (2567). กลยุทธ์การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2537). ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มัลลิกา แก้วจ้อน. (2565). สภาพการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
รุ่ง แก้วแดง. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). เอกสารคำสอนวิชา 2702621 วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่แนวคิด: ทฤษฏีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4 , อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สุวกิจ ศรีปัตถา. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชา ทฤษฎีและกลยุทธ์การบริหาร. เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
Sanders, D.A. (2002). The dynamics of parent-school communication, collaboration and African America student' success. Dissertation Abstracts International,
Sumtion, M. R. (1966). School community relation. New York: McGraw-Hill.