ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการตัดสินใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนุพงษ์ ช่วยชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อุทัยวรรณ สายพัฒนะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ความฉลาดทางอารมณ์, ความสามารถในการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน 2) ศึกษาระดับความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 348 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเปิดตาราง  เครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และแบบวัดความสามารถในการตัดสินใจ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 37 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการวิจัย พบว่า 1)  ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมและรายพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง 2)  ความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมและรายพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ยกเว้นความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง และ 3)  ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กลุ่มสัมพันธ์ในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: พัฒนศึกษา.

จิดาภา พงษ์ชุบ. (2549). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โครงการ โรงเรียนสองภาษา โดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตราภรณ์ ทองกวด.(2555). การศึกษาและพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุฑารัตน์ สุขน้อย. (2563). การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993623.pdf.

ทศพร ประเสริฐสุข. (2542). ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 5(1), 19-35.

นภาพร โกมลพันธ์. (2551). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สุขภาพจิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิคม แย้มย้อย. (2556). แรงจูงใจในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิธิป นรินทร์. (2566). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับสื่อแอนิเมชัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิศาชล สืบแจ้. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนพระราม 9 กาญนาภิเษก สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นุต ชูวา. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การทำงาน ความฉลาดทางอารมณ์บรรยากาศองค์การกับความสามารถในการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการของพยาบาลวิชาชีพ ศูนย์สุขภาพชุมชน เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้องนุช เพียรดี. (2542). ผลของการใช้ชุดการแนะแนวในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดคลองสวนฯ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ อรุณเรือง. (2454). ผลการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อความยืดหยุ่นทางอารมณ์ (Resilience) และกลวิธีการเผชิญปัญหาของวัยรุ่นตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพรรณ หาญณรงค์; และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 136-144.

ภาณุมาศ หอมบุญยงค์. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์. 8(1), 153-165.

ยุทธนา ไชยจูกุล. (2543). “การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์” ใน รวมบทความทางวิชาการ E.Q. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เดสก์ท๊อป.

เรวดี นามทองดี. (2555). การคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กราฟฟิค แอนด์ ปริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์เอ็กซ์เปอร์เน็ต จำกัด.

สถาบันราชานุกูล. (2565). แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก http://rajanukul.go.th/iqeq/index.php?mode=test&group=7.

สหพงศ จั่นศิริ. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาหลักการฟาร์ม สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานเขตสายไหม. (2567). ข้อมูลจำนวนนักเรียนประจำปีงบประมาณ 2567. แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.

Yoder-Wise, P. S. (2015). Leading and Managing in Nursing, 6th ed. Canada: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28