การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักการกระจายอำนาจ รองลงมา คือ ด้านหลักความเสมอภาค และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส
- ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อําเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ อําเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ควรส่งเสริมให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดธาตุ ได้รับข่าวสาร กฎระเบียบข้อบังคับที่ทันสมัยในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2546). คู่มือการบริการประชาชนยุคใหม่, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดนกรมการปกครอง.
ชนิดาภา สวนโต และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2567). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
จิรายุ ทินจอง และชาญยุทธ หาญชนะ. (2567). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลทรายทอง อําเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
พีระ พันธุ์งาม. (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังซ้าย อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (9 ตุลาคม 2546) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก , หน้า 1-16.
ภมร วงษ์ศรีจันทร์. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตาบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
วุฒิศักดิ์ เพียรจิตร. (2564). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.