การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล, หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น จำนวน 379 คน ด้วยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D.= 0.38) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักประสิทธิผล ( = 4.23, S.D.= 0.40) รองลงมาคือด้านหลักการตอบสนอง ( = 4.08, S.D.= 0.46) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 3.33, S.D.= 0.83)
- ผลการเปรียบเทียบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพพบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลกลางใหญ่ ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูล การติดต่อสื่อสาร หรือการให้บริการประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์
References
ชิษณุพงศ์ อ่อนศิริ และชาญยุทธ หาญชนะ. (2565). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 25–39.
ปาริชาติ พิพิทธภัณฑ์ และโกศล สอดส่อง. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. ใน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
พลวัฒน์ วิไลชื่นผล และ รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาล ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระมหายุทธพิชัย สิริชโย, และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,7(2),146.
สำนักงานเทศบาลตำบลกลางใหญ่. (2567). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลกลางใหญ่. เรียกใช้เมื่อวันที่ 19 ตพลาคม 2567 จาก
https://www.klangyai.go.th/index.php.
วิภาส ทองสุทธิ์. (2551).การบริหารจัดการที่ดี.กรุงเทพฯ: อินทภาษ. สถาบันพระปกเกล้า. (2542). ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล.กรุงเทพมหานคร: ทศธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). หลักธรรมาภิบาลของการบริหาร. กิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พรีเมียร์โปร จำกัด.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.