การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย จำนวน 362 คน จากสูตรของทาโรยามาเน่ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติค่าที (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D = 3.73) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักนิติธรรม ( = 4.22, S.D = 0.39) รองลงมา คือ ด้านหลักมุ่งเน้นฉันทามติ ( = 4.11, S.D = 0.51) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส ( = 3.10, S.D = 0.38)
- ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีวิธีการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว
References
จิรายุ ทินจอง และชาญยุทธ หาญชนะ. (2567). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การ บริหารส่วนตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
จิรวัฒน์ อัครบวร และรัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์. (2552). แผนที่ยุทธศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
บังอร เบ็ญจาธิกุล. (2564). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
เทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. เทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู.ภัทราวุฒิ ศิลาคม และโกศล สอดส่อง. (2567).การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การ บริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
วันทนา เล่ห์มนตรี. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.