แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) สร้างและปรับปรุงแก้ไข และ 3) ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัย มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 312 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 สร้างและปรับปรุงแก้ไขแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นที่ 2 ปรับปรุงแก้ไขแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็นมี 5 อันดับ ได้แก่ อันดับที่ 1 ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันดับที่ 2 ด้านการนิเทศการศึกษา อันดับที่ 3 ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา อันดับ 4 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อันดับที่ 5 ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน 38 แนวทาง ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 7 แนวทาง (2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 8 แนวทาง (3) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 8 แนวทาง และ (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 8 แนวทาง (5) ด้านการด้านการนิเทศการศึกษา 7 แนวทาง และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน 38 แนวทาง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ที.เอส.บี. โปรดักส์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ.
กันตวุฒิ การดี และวัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(3.): 185.
คมกริช นุราช. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนมพรรษ เทียมดวงแข. (2566). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประเวศ วะสี. (2544). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ปริ้นติ้งกรุ๊ป.
ปรีดา บัวยก สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์ และบรรจง เจริญสุข. (2564, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย JOURNAL OF GRADUATE RESEARCH, 12(1): 15-29.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น .
รุจิร์ ภู่สาระและจันทรานี สงวนนาม. (2545). การพัฒนาหลักสูตร:ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2567. https://www.drive.google.com/file/d/1eagkCNDW4Ynn
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.