ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะกับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ, ความฉลาดทางอารมณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 2) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 จำนวน 256 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ จำนวน 7 ข้อ เป็นแบบวัดด้วยการ วาดภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 57 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
- ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดละเอียดลออ มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงมาก ตามลำดับ ส่วนด้านความคิดริเริ่ม มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง
- ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครือข่าย 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรมสุขภาพจิต. (2546). อีคิว ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: สํานักพัฒนาสุขภาพจิต.
กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2566 จาก https://snipeo.moe.go.th/กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเ-2/
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2549). แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2566 จาก http://www.pecerathailand.org/2018/01/633.html.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต.
ดวงกมล เปี่ยมศุภทรัพย์. (2554). เชาวน์อารมณ์ (EQ) และเชาวน์ทางจิต (SQ) ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลของพนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมณี. (2552). การคิด. ใน สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์ชนก แพงไตร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดทอแรนซ์ เรื่องอาหารและการดำรงชีวิต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มณฑาทิพย์ แคนยุกต์. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาลิณี รักดี. (2560). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
มีนมาลย์ สุภาผล. (2548). โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรนันท์ ศรียากร. (2562). จิตเวช: ความฉลาดทางอารมณ์. เรียกใช้เมื่อ 23 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.praram9.com/จิตเวช-ความฉลาดทางอารมณ์/
วรรณิกา คูณภาค. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาว์อารมณ์ (EQ) ดัชนีวัดความสุขและความสําเร็จของชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2563). ความคิดสร้างสรรค์เด็กไทยที่หายไป. เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2666 จาก https://www.thaipbskids.com/contents/5f6188f917d8e5bbee2401a1.
สถาบันราชานุกูล. (2565). เดินหน้าสร้างเด็กไทยไอคิวดี การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564 (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ : ความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Carmen M. Hernández-Jorge. (2020). Creativity and Emotions: A Descriptive Study of the Relationships between Creative Attitudes and Emotional Competencies of Primary School Students. Sustainability. 12(2020).
Feyzullah Şahin. (2016). The Predictive Level of Emotional Intelligence for the Domain-specific Creativity: A Study on Gifted Students. Education and Science. 41(2016): 181-197.
Goleman, D. (1998). Working with Emotional intelligence. New York: Bantam Book.
Guilford, J.P. (1973). Characteristics of Creativity. Illinois: Gifted Children Section.
Julia Arias. (2022). Emotional intelligence and academic motivation in primary school students. Psicologia: Reflexao e Critica. 35(2020): 1-9.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). "Determining Sample Size for Research Activties". Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Mahdi Amiri. (2019). The Relationship between Components of Emotional Intelligence and Students’ Creativity in Payame Noor University and the Moderating Role of Gender, Age and Education. Higher Education Letter. 11(2019): 213-237.
Torrance, E.P. (1962). Guiding of Creative talent. New Jersey: Prentice-Hall.
Torrance, E.P. (1965). Education and The Creative Potential Minneapotis. The Lund Press Inc.
Torrance, E.P. (1974). The Torrance Test of Creative Thinking: Norms-Technical Manual. Princeton, NJ: Personal Press.
Wallas, G. (1926). The art of thought. London: Jonathan Cape.