การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ภคภณ สุธรรมมา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาชุมชน, ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18  ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว จำนวน 377 คน ด้วยการใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)

                    ผลการวิจัยพบว่า

  1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน
  3. ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ควรจัดประชุมหรือเปิดเวทีให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้าน ต่าง ๆ เป็นประจำทุก ๆ เดือน

References

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร.

ปัณณทัต บนขุนทด, ริรร์ พิมมานุรักษ์, ธนัชพร หาได้ และสันติ คู่กระสังข์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 209-222.

วิลาวัลย์ รุยันต์. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร.พระนคร, 1(2), 11 - 29.

สิริวิทย์ สิทธินิสัยสุข. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมควร จันทร์เทศ และโกศล สอดส่อง. (2567). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา ท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข. (2562). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2548). สรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่น่าสนใจ พ.ศ.2541-2548. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว. (2567). ข้อมูลทั่วไปของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28