การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนาชุมชน, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม จำนวน 381 คน ด้วยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที และใช้สถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์
- การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
References
เทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม.(2567). รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น.เทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ฟางสวย แก้วเกิดเคน และบุญเหลือ บุปผามาลา. (2567). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
นงนุช คำแหล้. (2567). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์, 4(2), 132-143.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2567 จาก https://library.parliament.go.th/th/raththrrmnuuyaehngrachxanacakrithy.
รัชชานนท์ ลือนาม และบุญเหลือ บุปผามาลา. (2567). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
เลิศชาย หอมหวล. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
วนิดา รุ่งโยธิน. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตําบล บ้านบึง อําเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
โสภา แสงนิล และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2564). การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลําภู อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู.คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.