ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมนวัตกรรมกับการเป็นองค์กรนวัตกรรม ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
คำสำคัญ:
การเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา, องค์กรนวัตกรรม, วัฒนธรรมนวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมนวัตกรรมกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 88 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมและการจูงใจในการทำงาน 2) ระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารภายในสถานศึกษา 3) สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมนวัตกรรมกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ.กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณ การพิมพ์ 3.
จิราเจต วิเศษดอนหวาย. (2565). ลาก่อน VUCA มาแล้ว BANI : ชวน ผอ. ปรับตัวและโรงเรียนให้ทันการเปลี่ยนแปลง. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2566 จาก https://www.educathai.com
ชวน ภารังกูล. (2556). การศึกษาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ฐิติมา พูลเพชร.(2560).ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์การ: หลักฐานเชิงประจักษ์ของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับสิทธิ BOI ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Education and Innovation, 14(2), 117–128.
สุชาติ ไตรภพสกุล,ชาคริต พิชญางกุล. (2564). การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ(2562).ผลการประเมินความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 2 พ.ศ.2566 -2570 : สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม (พ.ศ. 2566-2570) สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร.
Harvard Business School. 2003.Managing Creativity and Innovation. Boston: Harvard Business School Press.
Martins, C. E. and Terblanche, F. (2003). “Building Organizational Culture that Stimulates Creativity and Innovation.” European Journal of Innovation Management, 6 (1). 64 - 74.