การพัฒนาความสามารถในการถอดความจากงานเขียนเชิงวิชาการ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล

ผู้แต่ง

  • มาลินี ผลประเสริฐ วิทยาลัยสันตพล
  • ฐิติมน ฉัตรจรัลรัตน์ วิทยาลัยสันตพล
  • ทิพยวรรณ แพงบุปผา วิทยาลัยสันตพล
  • สารัชต์ วิเศษหลง วิทยาลัยสันตพล
  • มิลินท์ ศิรินทร์กัญญา วิทยาลัยสันตพล
  • เดือนฉาย ผ่องใส วิทยาลัยสันตพล
  • เบญจสิริ เจริญสวัสดิ์ วิทยาลัยสันตพล

คำสำคัญ:

การถอดความ, การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด, นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 2.ศึกษาความ
พึงพอใจของนักศึกษาสาขาภาษาไทยต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการถอดความจากงานเขียน
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล 
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อความเหมาะสมต่อการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน  แผนการจัดการเรียนรู้ 
และแบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

  1) นักศึกษาที่เรียนเรื่องการถอดความจากงานเขียนเชิงวิชาการโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับสูง จำนวน 3 คน อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 8 คน และอยู่ในระดับต่ำจำนวน 3 คน

  2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการถอดความจากงานเขียนเชิงวิชาการโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา เนื้อหามีความเหมาะสมต่อระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน และข้อที่อยู่ระดับต่ำสุด คือ กิจกรรมเพื่อนคู่คิดช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการคิดได้

References

ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2558). การเขียนเชิงวิชาการของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(43), 1-29. สืบค้นจากhttps://so06.tcithaijo.org/index.php/husojournal/article/view/55994/46760.

Smodin. (2022). การถอดความและการสรุปความ: ความแตกต่างและตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566, จาก https://smodin.io/th/blog/paraphrasing-vs-summarizing.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุวิริยาสาส์นจำกัด.

พรทิพย์ ดิษฐปัญญา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 14(2), 24-41. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/issue/view/1168.

พิเชษฐ์ พินิจ. (2555). การเขียนงานเขียนเชิงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566, จาก http://pichet-pinit.in.th/wp-ontent/uploads/2012/06/part_1-1_ContextOfWriting.pdf.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 99-105. สืบค้นจาก https://www.thaiscience.info/journals/Article/TJKM/10680815.pdf.

Fitz-Gibbon, C. T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: Sage.

Latifah Maiyoritsa and Delvi Wahyuni. (2021). An Analysis of Students Techniques in Paraphrasing at English Department Universitas Negeri Padang. Journal of English Language Teaching, 10 (2). 264-271. Retrieved from https://ejournal.unp.ac.id/index.php/jelt/article/view/112479/105202.

Richard R. Hack. (1998) “Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousand-studentsurvey of mechanics test data for introductory physics courses” AmericanJournal of Physics. 61 (1) : 64-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28