ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดจักรพล สิริธโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานของ ผู้บริหารจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานข การที่องค์กรมีผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันการศึกษาพบว่าภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลนั้นเป็นการแสดงออกของผู้บริหารถึงการมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาการทำงานของตนเองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร โดยองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร ประกอบด้วย 5 ด้าน  1) ด้านการรู้ดิจิทัล 2) ด้านการสื่อสารด้วยดิจิทัล 3) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล 4) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล 5) ด้านการพัฒนาองค์กรด้วยดิจิทัล ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลนั้นจำเป็นต้องมีทักษะต่าง ๆ  การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลควรมีการพัฒนาใน 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้วยการ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมามีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์กรเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ 2) ด้านการสื่อสารดิจิทัล ควรมีการใช้สื่อดิจิทัลในการดำเนินงานและการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร 3) ด้านการรู้ดิจิทัล ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลและการสร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร 4) ด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล ควรมีการวางแผนการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2549). ทัศนะไอที. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ซอฟี ราเซะ. (2560). การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. ครุศาสตร์สาร.13 (2), 285-294.

ธีรศักดิ์ อุปรมัย, อุปไมยอธิชัย และสุชาติ บางวิเศษ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บวร ปภัสราทร. (2561). การสื่อสารเคลื่อนที่จากยุคที่หนึ่งสู่ยุคที่ห้า มุมมองของพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาคินัย อุ่นแก้ว, พระมหาสุภวิชญปภสฺสโร และพระครูปริยัติคุณรังสี. (2566). การพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(4), 199-214.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). ภาวะผู้นำในบริบทของพุทธศาสนา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). ภาวะผู้นำในบริบทของพุทธศาสนา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2550). รูปแบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีการวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา = Leadership: theories, research, and approaches to development. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมบูรณ์ โตจิตร. (2564). บทบาทผู้นำในการพัฒนาองค์การ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(3), 62-70.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

อรนุช โขพิมพ์. (2555). บทบาทและความสำคัญของผู้นำ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). เรียกใช้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566. จากhttps://www.trueplookpanya.com/dhamma.

ยงยุทธ นุฤทธิ์มนตรี, กษม ชนะวงศ์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารในองค์กร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 12(4), 186-206.

วินา สุทธิโพธิ์. (2561). ภาวะผู้นำในยุคใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hao, M. R., & Yazdanifard, R. (2015). How effective leadership can facilitate change In organizations through improvement and innovation. Global Journal of Management and Business Research: A Administration and Management, 15(9), 1-5.

Kerdtip, C. (2006). Development model of education technology leadership for School administrators under the Office of Basic Education Commission in southern Thailand. (Doctoral dissertation). Thailand: Songkla University.

Nak Ai, N. (2006). The factors of E-leadership characteristics and factors affecting E-leadership effectiveness for basic education principals. (Doctoral dissertation). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Polly, D. (2010). Preparing teachers to integrate technology effectively: The case of higher order thinking skills (HOTS). Chapter to appear in S. D'Augustono (Ed.).

Sieber, S., Kagner, E., & Leader. (2013). How to be a digital. Retrieved June 2, 2024, from http://www.forbes.com/sites/iese/2013/.

Zhu, P. (2017). Five key elements in digital leadership. Retrieved June 6, 2024, From http://futureofcio.blogspot.com/2015/01/five-key-elements-in-digitalleadership.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14