การจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบใหม่, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ พร้อมนำเสนอแนวคิด วิธีการ และแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านมุมมองตามแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน
จากการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์เป็นการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการเนื้อหาให้เชื่อมโยงกับชุมชนโดยใช้การปฏิบัติงานด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในชุมชน สร้างความรู้จากการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรม มีครูเป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยความสะดวกโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการใช้นวัตกรรมสื่อการสอน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ภายใต้การเรียนรู้จากประสบการณ์และเล่าเรื่องจากชุมชน เพื่อให้ผู้ชมเห็นถึงคุณค่าความงามของประเพณี สถานที่ หรือแหล่งสำคัญของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยใช้แนวคิดการสร้างสรรค์ในรูปแบบเล่าเรื่องเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ เป็นองค์ความรู้เชิงนาฏศิลป์ในการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์
References
กัญญาณัฐ สิมสวัสดิ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.
กุลกานต์ โพธิปัญญา. (2561). นาฏศิลป์ไทยกับกิจกรรมนันทนาการในชั้นเรียนสำหรับเด็กประถม. วารสารดนตรีและการแสดง, 2(2), 50-62.
คณะศิลปะนาฏดุริยางค. (2565). นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด เจ้าพระยานที. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
นวลรวี จันทร์ลุน. (2560). แนวทางสรรค์นาฏศิลป์ พื้นบ้านโคราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 115-123.
เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา. (2560). นาฏศิลป์สร้างสรรค์“ระบำรวมเผ่าชาวเขา. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2586, จาก https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2544). นาฏยศิลป์ปริทรรศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรทัย รุ่งวชิรา, เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ และกาญจนา เกียรติกานนท์. (2564). การจัดการเรียนนรู้ในโลกยุคใหม่เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะคนยุคใหม่. วารสารครุทรรศน์ (Online), 1(1), 97-106.
Bedri, Z, de Frein, R. & Dowling, G. (2017, December 18). Community-based learning: A primer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1), Retrieved on January 12, 2025, from https://arrow.dit.ie/ijap/vol6/iss1/5
Melaville, A, Berg, A. C. & Blank, M. J. (2015). Community-based learning: Engagingstudents for success and citizenship. Partnerships/Community. Paper 40., Retrieved on February 20, 2025, from http://digitalcommons.unomaha. edu/slcepartnerships/40.