ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

ผู้แต่ง

  • จักรภพ สังคีตศิลป์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • จรูญ บุญธรรม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สุเทพ ตระหง่าน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, จรรยาบรรณวิชาชีพ, ผู้บริหารสถานศึกษา, องค์กรแห่งความสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1  2) การเป็นองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือครูในโรงเรียน อำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 148 คน ซึ่งมาจากการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยใช้ชุดโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. 2. ระดับการเป็นองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 
  3. การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนาด้วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และการเป็นองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

จันทร์ทร ปานคล้ำ. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา. วารสาร การศึกษาและสังคม, 19(3), 106-119.

นภัส จิตต์ธีรภาพ. (2554). ปัจจัยส่วนบุคคล ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การพนักงาน: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร. วารสารวิจัยธุรกิจ, 12(4), 64-80.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การบริหารและการพัฒนาบุคลากรในองค์กรการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษา.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การพัฒนาผู้นำในสถานศึกษาเพื่อความสำเร็จของการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษา.

ศิรินันท์ ขวัญอ่อน. (2563). การศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีสมรรถนะสูง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). แนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุข. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุวิมล บุญลีและสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2557). การศึกษาการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตการศึกษาประถมศึกษาของไทย. วารสารการศึกษาไทย, 36(1), 98-112.

อุษา พรหมรินร์. (2561). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาของรัฐ. วารสารวิจัยการศึกษา, 45(2), 135-150.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28