การศึกษาปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • พงศธร แรงเขตวิทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • นันธวัช นุนารถ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
  • ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ปัญหาการบริหารงาน, ระบบข้อมูลสารสนเทศ, การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งปัจจุบัน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเครซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 21 คน และครู จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 มีค่าความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ระดับปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.73, S.D. = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงที่สุด คือ ด้านการจัดเก็บข้อมูล มีปัญหาอยู่ในระดับมาก (  = 3.96, S.D. = 0.76) รองลงมาคือ ด้านการประมวลผลข้อมูล มีปัญหาอยู่ในระดับมาก (  = 3.93, S.D. = 0.76) และด้านที่มีปัญหาต่ำที่สุด คือ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.42, S.D. = 0.70)
  2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งปัจจุบัน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ศูนย์กลางข้อมูลด้านการศึกษาสำหรับประชาชนกระทรวงศึกษาธิการ. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2564. จาก

https://edc.moe.go.th/information/.

ธนพล สีสุข. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พิชญาณี กาหลง. (2562). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน วิทยาการวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. นครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.nesdb.go.th.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Colline.

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2: 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28