การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสุวรรณคูหา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
คำสำคัญ:
การจัดการยุคใหม่, คุณธรรมของนักบริหาร, หลักสังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสาน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรของสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสุวรรณคูหา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 170 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายจาก ตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคุณธรรมของนักบริหาร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดการยุคใหม่ 2) การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสมานัตตตา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านทาน การเสียสละ และ 3) การสงเคราะห์การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหาร ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการเสียสละ 2. ปิยวาจา 3. ด้านอัตถจริยา และ 4. ด้านสมานัตตตา
References
กิ่งกาญจน์ เพชรวารี. (2567). การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โยธิน นิลคช. (2567). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 14 ตุลาคม 2567 จาก http://58.181.147.25/ojsjournal/ index.
วิภาดา สารัมย์.(2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พระมูนทะวี วงวิจิดดี. (2560). การบริหารงานสถานศึกษาโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ศุภมาส วิสัชนาม. (2560).คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 .(2567). ข้อมูลบุคลากรใน สพป.หนองบัวลำภู เขต 2. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก https://nb2.go.th/wp-content/uploads/2023/10/person_nb2_2023.pdf.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.