การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพลเมืองดิจิทัล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • ภราดร รีชัยพิชิตกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วิลาวัลย์ อุธคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ไมโครเลิร์นนิ่ง, เทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง และกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพ การจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

  ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพของการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับ               การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่งร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ณัฐนันท์ ภัทรวินเดโชพัฒน์ และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2567) . การพัฒนา Mobile Micro-learning ด้วย TikTok เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ สําหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 11(3), 187–198.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารีย์ณิชา ลีพีรวิทิตกว้าน, สีตะธนี, และวิเชียร ชุติมาสกุล. (2560). การเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ของเจนเนอเรชันแซดผ่านการเรียนรู้แบบไมโคร. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 13. (น. 57). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พลวัฒน์ เกตุชาวนา วิมาน ใจดี และมนัสนิต ใจดี. (2563). ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการเรียนรู้ด้วยโมบายเลิร์นนิง ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. วารสารสิรินธรปริทรรศ, 21(1), 197-205.

โรงเรียนเลยพิทยาคม. (2024). สถิติจำนวนนักเรียน 2567. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2568. จาก http://www.dograde.online/loeipit/dooinformation.aspx

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Muruganantham, G. (2015). Developing of E-content package by using ADDIE model. International Journal of Applied Research, 1(3), 52-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28