สมรรถนะการสื่อสารเพื่อการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • นฤมล รัตนาภิบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุภาภรณ์ ศรีดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

สมรรถะ, การสื่อสาร, การพัฒนา, ผู้บริหารท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและสังคม ทำหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ตลอดจนแสวงหาข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสินใจ หรือ เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งส่งผลให้ชีวิตและสังคมดำรงอยู่และดำเนินต่อไปได้ รวมถึงการสื่อสารยังเป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการพัฒนา โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือว่าเป็นองค์กรรัฐที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร และจะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเป็นผู้ฟังที่ดีและตั้งใจ การสื่อสารด้วยการพูด ความกระชับในการสื่อสาร การให้ข้อมูล การทำงานเป็นทีม การมีคุณธรรมจริยธรรม การเท่าทันเทคโนโลยี การใช้ฐานข้อมูลในการตัดสินใจ และการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกมิติ  ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาและสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

References

กุลจิรา ยะศะนพ และ กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2567). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 4 (1), 93-112.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิฆเนศพริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์จำกัด.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2562). ศึกษาแนวทางการได้มาและขั้นตอนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ทวิช ผิวผ่อง และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลยราชภฏสกลนคร.

นฤมล รัตนาภิบาล และคณะ. (2567). สมรรถนะทางการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทวัชร โคตรวงค์ และคณะ. (2564). การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองของว่าที่ผ้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตําบลดงชน จังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2560). การบริหารกิจการท้องถิ่นที่ดีในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ปวีร์รวี อินนุพัฒน์. (2566). การสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์กรดิจิทัล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2557). ทฤษฎีการสื่อสาร และแบบจำลองการสื่อสาร. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จาก http://tanakonkarapun.blogspot.com/2014/08/blog-post_64.html.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา. ใน เอกสารการสอน ชุดวิชา การสื่อสารกับการพัฒนา หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุภา นารินทร์. (2563). ผู้นำท้องถิ่นกับการสื่อสาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1 (3), 38-44.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cenere, P., Gill, R., Lawson, C., & Lewis, M. (2015). Communication skills for business professionals. Victoria, Australia: Cambridge University Press.

David K. Berlo. (1960). The Process of Communication. New York : Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Education, A. (2011). Framework for student learning: Competencies for engaged thinkers and ethical citizens with an entrepreneurial spirit. Retrieved February 01, 2025, from https://open.alberta.ca/publications/9780778596479

Fullan, M. (2013). The Moral Imperative of School Leadership. Ontario: A Joint Publication.

Johari, S., Noordin, W. N. W., & Mahamad, T. E. T. (2022). WhatsApp conversations and relationships: A focuson digital communication between parent-teacher engagement in a secondary school in Putrajaya. Jurnal Komunikasi: Malaysian Journal of Communication, 38 (2), 280–296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14