นวัตกรรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้แต่ง

  • ศิริมงคล อูปคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ไพรภ รัตนชูวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ประเวศ เวชชะ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการพัฒนา, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อเสนอนวัตกรรมการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 320 คน โดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน เครื่องที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า  1) การกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัลของโรงเรียน ผู้บริหารต้องวิเคราะห์สถานการณ์โรงเรียน วางเป้าหมายที่ชัดเจน สื่อสารและอบรมบุคลากร ปรับปรุงแนวทางให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง 2) การนิเทศและประเมินผลการสอนด้วยเทคโนโลยี สนับสนุนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการนิเทศและติดตามผล พัฒนาทักษะดิจิทัลของครู ปรับปรุงแนวทางการนิเทศให้มีความยืดหยุ่น 3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย PLC อบรมการใช้เทคโนโลยี และขยายความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรอย่างเป็นระบบ 4) การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี ใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอนและวัดผล พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนทรัพยากร และปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย 5) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี 6) การสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนกับองค์กรภายนอกผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และขยายความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปอยขวัญ เขมา. (2565). การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพิชัยด้วยชุดกิจกรรมตามแนวคิด Outward Mindset. ใน การค้นคว้าอิสระหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

พุฒินันท์ แสงสิริวัฒน์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

ณัชนาน ประเสริฐสุข. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2564). การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ผสานแนวคิด OKRs เพื่อความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ของครู. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 6(12) 393-221.

วิจิตรา สำแดงไชย. (2567). การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(1) 67-76.

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2564). เทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคใหม่.วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,16(1),53-66.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2567, จาก https://www.cr3.go.th

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2567 จากhttps://www.nesdc.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน 2567 จาก https://dl.parliament.go.th.

อภิชาติ รอดนิยม. (2564). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในวิถีความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 6(9), 123-133.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14