ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างองค์ประกอบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยองประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยองจำนวน 51โรงเรียน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2,656 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้าง องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
เจริญชัย บรรเลงรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารการศึกษาพื้นฐาน, 8(1), 22-35.
ทิศนา แขมมณี. (2557). การพัฒนาและดำเนินการตามกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษา.วารสารการศึกษาระดับชาติ, 23(1), 55-72.
นนทกร อาจวิชัย & มาริสา ไกรฤกษ์. (2554). บทบาทของผู้นำในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ. วารสารการศึกษาทางการบริหาร, 15(3), 12-24.
นฤมล สุภาทอง. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน.วารสารการศึกษาภาคตะวันออก, 13(1), 30-42.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการศึกษาทางการบริหาร, 22(4), 50-62.
ปนัดดา วรกานต์ทิวัตถ์. (2555). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร. วารสารการศึกษาอาชีวศึกษา, 17(2), 60-75.
พิรุณ รัตนวณิช. (2555). การบริหารงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ.วารสารการบริหารการศึกษา, 20(2), 45-58.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2561). ภาวะผู้นำและการพัฒนาองค์กร.วารสารการบริหารองค์การ, 14(3), 44-56.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน.วารสารการศึกษาการบริหาร, 10(2), 79-89.
สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา. (2554). การปฏิรูปการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2558). การบริหารเชิงกลยุทธ์ในองค์กรการศึกษา. วารสารการศึกษาทางการบริหาร, 18(2), 80-92.
สุวิทย์ ครึกกระโทก. (2564). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อผลลัพธ์ทางการศึกษา. วารสารการศึกษา, 30(4), 105-118.
อารุง จันทวานิช. (2557). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน. วารสารการศึกษาไทย, 12(1), 1-10.
Du Brin, A. (1998). Leadership: Research findings, practice, and skills (2nd ed.). Houghton Mifflin.