องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงผสานวิธี กรอบแนวความคิดศึกษามาจากเวเบอร์ ประชากรคือ ครู 1,200 คน จาก 107 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน ได้มาจากวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การจัดการด้านหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้การจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และ วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า องค์ประกอบมี 6 ด้านและ 38 องค์ประกอบย่อย และ 3)โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน
References
ดวงกมล เปียทอง. (2557). รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก. ใน วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธัญญา ทรัพย์สมบัติ. (2561). การพัฒนาผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ. ใน วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏชุมพร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580: การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุชาดา ภักดี. (2562). การส่งเสริมภาวะผู้นำทางวิชาการในโรงเรียน: การพัฒนาบุคลากรและการสร้างแรงจูงใจ. ใน วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. (2566). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1. ชุมพร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1.
Blase, J., & Blasé, J. (2000). Effective instructional leadership: Teachers' perspectives on how principals promote teaching and learning in schools. Journal of Educational Administration, 38(3), 31–48.
Glickman,C.D.,&Others. (2001). Supervision and instructional leadership: A developmental approach. Boston: Allyn & Bacon.
Fraenkel, J.R.,Wallen, N. E., & Hyun, H. H. (2012). How to desIgn and evaluate research In educatIon (8th ed.). New York: Mc Graw HIll.
Hair, J.F., & Others. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Hallinger, P. (2009). Leadership for learning: How leadership can enhance teaching and learning. School Leadership & Management, 29(4), 370– 397.
Krejcie, R.V., & Morgan,D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 608.
McEwans, M. (1998). Leading school change: The case of academic leadership. Journal of Educational Administration, 36(3), 209–220.
Sheppard,B. (1996). School leadership and its impact on student learning: An integrated model. Journal of Educational Administration, 34(2), 110–127.