กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา กลุ่มเมืองฉะเชิงเทรา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำผู้นำเชิงสร้างสรรค์, องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษากลุ่มเมืองฉะเชิงเทรา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ผู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา กลุ่มเมืองฉะเชิงเทรา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 150 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ผู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.60, S.D = 0.78) 2) ความต้องการจำเป็นของผู้นำเชิงสร้างสรรค์ผู้ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านความคิดสร้างสรรค์และด้านวิสัยทัศน์ อยู่ในกลุ่มสูงเป็นจุดอ่อน ด้านความยืดหยุ่น และด้านคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อยู่ในกลุ่มสูงเป็นจุดอ่อน และความต้องการจำเป็น (PNImodified =0.307) ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก ( = 3.521, S.D = 0.837) และความต้องการจำเป็น (PNImodified =0.354) และ3) กลยุทธ์การพัฒนาผู้นำประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์รอง ดังนี้ 1) พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง 2) พัฒนาทักษะความสามารถการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและบรรลุความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง
References
กุสุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กัญญารัตน์ สุขแสนและประทุมทอง ไตรรัตน์. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวันตก,6(7), 130-145.
ชลธิชา บุนนท์ และคณะ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. (การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2564). องค์ประกอบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสมรรถนะสูง. ใน วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟาง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พุทธชาติ ภูจอมจิต. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554) ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ:กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ ทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554), 70.
วินุลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม.
สุกฤตยา ปงกันทา. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Mainemelis, C. (2015). Creative leadership: A multi-context conceptualization. The Academy of Management Annals, 9(1), 393–482.
Hasmirati, H., Sin, I., & Kassim, A. L. (2020).High-Performing and Low-Performing Schools in Makassar Indonesia. Journal of Research and Multidisciplinary, 3(1), 267-283.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Qingling Zhang. (2016). Creative Leadership Strategies for Primary School Principals/Teachers Creativity/Guangxl, China. Ph.D. Thesis, Educational Administration, Chulalongkorn University.
Sidi, R. R. (2018). Characteristics of School Culture in High Performing Schools in Mombasa County, Kenya. International Journal of Research in Education and Social Sciences (IJRESS) 3, 68-80.