ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, องค์การแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือครูในโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 306 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและเทียบบัญญัติไตรยางค์ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.996 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการสามารถอธิบายการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 92.2 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.234 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพมหานคร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอําเภอองค์รักษ์ สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พุฒินันท์ แสงสิริวัฒน์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภาวิณี ซุ่นทรัพย์. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุรพร ศุทธรัตน์. (2552). องค์การเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครังที่1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัชญ์ธารี ประกิ่ง. (2561). องค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันชนก อาจปรุ. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขต ภาคกลาง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศราวุธ ทองอากาศ. (2560). การศึกษาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 . (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เรียกใช้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://web.chan1.go.th/manage/plan_pat.
Collins, Jim. (2015). Good to great: Why some companies make the leap and others don’t. New York: Harper Business.
Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2001). Education Administration : Theory Research and Practice. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.
Rashid, R. A., & Mansor, M. (2018). The Influence of Organizational Learning on Teacher Leadership. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8(4), 1233–1246.