แนวทางการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • พิทยา เขียวดวงดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณิศร จี้กระโทก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • นวัตกร หอมสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ธีระพล เพ็งจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การรู้ดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, การรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ และ 2) พัฒนาแนวทางการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.70 - 1.00 มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 ระยะที่ 2 ใช้วิธีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน  โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบบันทึกการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์และสังเคราะสร้างข้อสรุปจากเนื้อหาที่ได้

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ระหว่าง 0.277 – 0.370 2) แนวทางการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 36 แนวทาง ดังนี้ ด้านการสร้าง มีจำนวน 8 แนวทาง ด้านการใช้งาน มีจำนวน 8 แนวทาง ด้านการเข้าใจ มีจำนวน 6 แนวทาง ด้านการเข้าถึง มีจำนวน 7 แนวทาง และ ด้านการรู้สารสนเทศ มีจำนวน 7 แนวทาง

References

กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564). แนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษา, 15(4), 986.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580). เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2567. จาก https://www.etda.or.th/content_files/2/files/05_Digital_Plan.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). นโยบายและจุดเน้น ประจำปีงบประมาณ 2567. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2567. จาก ttps://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

กัมพล เกศสำลี & กันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล สงคราม, 12(2), 503-514.

กิตติพงศ์ สมชอบ. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). คู่มือทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ และแนวทางการนำไปใช้งานในระดับองค์กรและระดับบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2567, จาก https://www.ocsc.go.th/digital_skills2.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การพัฒนาผู้บริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษา, 10(2),99.

เอมอร จังศิริพรปกรณ์.(2553). สถิติอ้างอิง. เรียกใช้เมื่อ 8 สิงหาคม 2567, จาก http://www.pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/ b3st.htm.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2567, จาก ttp://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/t2-t2s3-.

Dankbaar, M. E., & de Jong, P. G. (2014). Technology for learning: How it has changed education. Perspectives on Medical Education, 3(4), 257-259.

Gilster, P. (1997). Digital literacy. New York: Wiley.

Jisc. (2010). Developing students' digital literacy. Retrieved from http://digitalcapability.jiscinvolve.org/wp/files/2014/09/JISC_REPORT_Digital_Literacies_280714_PRINT.pdf

Karpati, A. (2011). Digital literacy in education. Retrieved from http://unesdoc.unesco.org/images/0021/002144/214485e.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14