อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การชองธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
อิทธิพล, คุณภาพชีวิต, ความผูกพันในองค์การ, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มประชากรของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที และ ค่าสถิติเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น ด้านต่าง ๆ โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล รองลงมา คือ ด้านการกำหนดความรู้ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย - ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ ของธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น ด้านต่าง ๆ โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเท
ความพยายาม เพื่อองค์การ รองลงมาคือ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ส่วนด้าน
ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความเป็นสมาชิกภาพในองค์การคม - ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความคิดเห็นความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่า ทุกด้านไม่แตกต่าง จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนจำแนกตามอายุ ด้านคุณธรรม ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามเพื่อองค์การ และด้านความเป็นสมาชิกภาพในองค์การ พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กิตติพงศ์ สุวรรณมาโจ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพัน ต่อองค์การ ณีศึกษา บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำนักงานเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัย เนชั่น.
จุฑาพร กบิลพัฒธ์. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ใน
การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นิ่มนวล วงค์คำลือ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2564). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ฝ่ายปฏิบัติการเครดิต อาคารแจ้งวัฒนะ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย(พ.ศ.25ปัจจุบัน. เรียกใช้เมื่อ 6 ตุลาคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/th/our-roles/financial-institutions/financial-sector-master-plan.html
ปาริชาต บัวเป็ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด). ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาเอกธุรกิจระกว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
พชรมน โหตระไวศยะ. (2561). ความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กรที่มีผลต่อแรงจูงใจ ภายใน ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พวงเพชร วัชรอยู. (2537). แรงจูงใจในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร.
เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การขบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์. ใน รายงานการวิจัยปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.