สมรรถนะของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
คำสำคัญ:
สมรรถนะของผู้บริหาร, การบริหารสถานศึกษา, สถานศึกษายุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสมรรถนะของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 302 คน โดยวิธีเลือกแบบสุ่มแบบแบ่งชั้นใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามเพศ พบว่า ไม่แตกต่าง สมรรถนะของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกช่วงอายุ และ ประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กิตติถูมิ เรืองเสน. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์.
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564). บทบาทของผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/.
ธันยพร สะสมผลสวัสดิ์. (2566). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 15(1), 198-211.
ธันยพร สะสมผลสวัสดิ์. (2567). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. ใน การค้นคว้าอิสระ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPPS และ AMOS.(พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
นาวิน พินิจอภิรักษ์. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 328-342.
ปวริศา มีศรี. (2560). สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล) : Thailand 4.0. ครุศาสตร์วิจัย 2560 : นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (หน้า 98-110). ลำปาง, ประเทศไทย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. เล่มที่ 12 ตอนที่ 100 ก. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
วราวุฒิ มุขกระโทก. (2566). สมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. ใน การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร.
โศศิษฐา ศรีสมบัติ. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2567. , กลุ่มนโยบายและแผน สพป.ชร. เขต 2 เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 จาก: https://www.cri2.go.th/.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกชัย มดแสง. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2563. จาก : http://ojs.mbu.ac.th/index.php.
Krejcie,R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.