แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากลุ่มห้วยชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

ผู้แต่ง

  • ภานุชนารถ ทองคำเปลว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ไพรภ รัตนชูวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พูนชัย ยาวิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตร, การส่งเสริมทักษะอาชีพ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากลุ่มห้วยชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากลุ่มห้วยชมภู จำนวน 83 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ พบว่า ปัจจัยภายใน ได้แก่ โครงสร้างการบริหาร การให้บริการ บุคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมือง 3) แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยใช้กระบวนการบริหารจัดการ PDSSE แยกเป็นรายด้านตามขั้นตอนการบริหารหลักสูตร ขั้นตอนที่ 1 (P : Plan) การวางแผนการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 (D : Do) การนำหลักสูตรไปใช้ ขั้นตอนที่ 3 (S : Support) การสนับสนุนการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 4 (S : Supervision) การนิเทศกำกับติดตามการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 5 (E : Evaluation) การประเมินการใช้หลักสูตร

References

กนกพิชญ์ เชื้อเจ็ดตน, ไพรภ รัตนชูวงศ์ และพูนชัย ยาวิราช. (2563). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเชียงแสนอาคาเดมี.วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 5(2), 1-14.

กรมวิชาการ. (2545 ). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2561). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ใน ประมวลสาระชุดนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ (หน่วยที่ 2, น.6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

จันทร์จิรา บุรีมาศ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 9(2), 114-132.

ชนิกานต์ ทุมทุมา และ พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2567). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา. 15(2), 116 – 128.

ชนินทร์พร อินลือ, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และ พูนชัย ยาวิราช. (2564). แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 6(1), 45 – 68.

ธาริดา สกลภัทรสกุล. (2565). สภาพและแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญกอง พลสมัคร. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประเวศ เวชชะ. (2562). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). เชียงราย: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กลุ่มงานวิชาการ. (2567). การสำรวจข้อมูลการศึกษาต่อและความพึงพอใจต่อหลักสูตรสถานศึกษา. เชียงราย: โรงเรียนขยายโอกาสในกลุ่มห้วยชมภู.

วิจารณ์ พานิช. (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สมใจ มณีวงษ์, ศศิรดา แพงไทย และรัชนิวรรรณ อนุตระกูลชัย. (2566). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 5(4), 65–74.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พศ. 2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14