แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • ปัฐยา มีสุข มหาวิทยาลัยเกริก
  • ประทุมทอง ไตรรัตน์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้นำเชิงกลยุทธ์, การบริหารที่เสริมสร้างความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1 และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเป็นเลิศของสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 196 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 180 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง                  

ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นได้แบ่งศึกษาออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านที่ 1 ด้านการบริหารที่เสริมสร้างความเป็นเลิศ พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง (PNImodified = 0.35) และด้านที่ 2 ด้านการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง (PNImodified = 0.38) และ 2) การนำเสนอแนวทางประกอบด้วย 4 แนวทาง ดังนี้  1) พัฒนาทักษะภาวะผู้นำในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในการขับเคลื่อนสถานศึกษานำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด 2) พัฒนาศักยภาพของผู้บริหารและบุคลากรในการควบคุมและประเมินกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ 3) พัฒนาการสร้างองค์ความรู้ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเสริมสร้างความเป็นเลิศ 4) พัฒนาการจัดกระบวนการบริหารการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ธีรพจน์ แนบเนียน, ประเทือง ภูมิภัทราคม และอานนท์ เมธีวรฉัตร. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยวิชาการ. 5(2). 129-142.

ปิ่นมุก เสนาดิสัย (2567). การวิจัยและพัฒนากระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ใน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พนิดา ดอนเมฆ. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานสู่คววามเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รัญชนา เชื่อนขันธ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

วันวิภา ทำประโยชน์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศรสวรรค์ ราบบำเพิง,ปรางทิพย์ กระตุฤกษ์และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การจัดการเชิงกลยุทธ์ : กระบวนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ. วารสารร้อยแก่นสาร. 7(12). 340-355.

ษฑฬษ ปรีชาจารย์, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัยและ วิทยา ศรีชมพู.(2566). แนวทางการพัฒนากรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน. 5(1). 205-222.

สุภัทรา สงครามศรี. (2558). แบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของสถาบันการอาชีวศึกษา ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Harris, G. K. (1989). Similarities Between Leadership Characteristics of Managers of Successful Business Corporations and Principals of Schools Cited for Excellence. (Dissertation Thesis, Ed.D.). Chestnut Hill : Boston College.

Hollenkamp, D. J. ( 1990). A Study of Excellent Business Trrits and Theirreplication in Selected Secondary Schools. (Dissertation Thesis, Ed.D.). Illinois : Southem Illinois University at Edwardsville

Kgaile, A., and Morrison, K. (2006). Measuring and targeting internal conditions for school effectiveness in the free State of South Africa. Educational Management Administration & Leadership, 34(1), 47-68.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14