ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสังคมกับทักษะการแก้ปัญหาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

ผู้แต่ง

  • สิรภัทร จิตนาวสาร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อุทัยวรรณ สายพัฒนะ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสังคม, ทักษะการแก้ปัญหา , ความมีน้ำใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสังคมกับทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด ปีการศึกษา 2567 จากการใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบเป็นสัดส่วน จำนวน 301 คน เครื่องมือ คือ แบบวัดความฉลาดทางสังคม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่ามี 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .93 และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน

           ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด โดยรวมและทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก ยกเว้นความมีน้ำใจ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด พบว่า โดยรวมและองค์ประกอบการพิจารณาสาเหตุของปัญหาการหาแนวทางแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี องค์ประกอบการระบุปัญหา และการทดลองแก้ปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนองค์ประกอบการตรวจสอบผลอยู่ในระดับดีมาก และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสังคมกับทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การประเมินการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูชัย พงศ์ไพบูลย์ศิริ และคณะ. (2566). แนวทางการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (3), 1341-1359.

บุญยาพร พลคร และคณะ. (2567). ผลขอลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านตีบใต้ จังหวัดเพชบูรณ์. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 11 (2), 85-97.

ปวริศา ภวเจริญผล. (2559). การตรวจสอบกลุ่มตัวแปรความฉลาดทางสังคมที่ทำนายสุขภาพจิตทางบวกของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์พร ภิญโญ. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มะลิ ทิพพ์ประจง. (2563). ภาวะผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่ 21. Journal of Roi Kaensarn Academi. 5 (2), 114-121.

ศิริญพร บุสหงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จันทบุรี ตราด. (2567). ข้อมูลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ปีการศึกษา 2567. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2567 จาก http://info.sesact.go.th/tableSchoolmis.php?op=2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับเส้นทางการพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อาภา จันทรสกุล. (2551). เทคนิคการปรึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Best, J. W. (1970). Research in education. (2nd ed.). New Jersey : Prentice-Hall.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw – Hil Book Co.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Pearson, K. (1896). Mathematical contributions to the theory of evolution. III. Regression, heredity, and panmixia. Philosophical Transactions of the Royal Society of London. 187, 253-318.

Sullivan, H. S. (1949). Conceptions of Modern Psychiatry. Washington, D. C. : William A. White Psychiatric Foundation.

World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020, 36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14