การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC
คำสำคัญ:
การอ่านจับใจความ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิค CIRCบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6A จำนวน 21 คน กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6C จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC จำนวน 12 แผน และแบบทดสอบการอ่านจับใจความ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที t-test แบบ dependent sample และการทดสอบที t-test แบบ independent sample
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC มีคะแนนอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 85.72 ของนักเรียนทั้งหมด 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภายหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน กลุ่มทดลองที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พรเทวี ไชยเนตร. (2528). ประสิทธิภาพของแบบฝึกหัดการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ที่ใช้ฝึกการอ่านเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR. (2566). โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสสุวรรณภูมิ.
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2567 จาก https://swsb.ac.th/.
วรรณฤดี สุขชื่น. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาป่าขะ-เขาเพิ่ม จังหวัดนครนายก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศันสนีย์ จันทร์คีรี. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ระหว่างวิธีสอนแบบร่วมมือ CIRC กับวิธีสอนแบบปกติ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิลาลักษ์ หมู่หมี. (2563). ผลการใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภาวดี ศรีระวงษา. (2562). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ CIRC กับวิธีการสอนแบบปกติ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพรรณี สำราญพันธ์. (2564). การศึกษาความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.