ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้กับความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรัญประเทศ
คำสำคัญ:
สภาพเเวดล้อมการเรียนรู้, ความเชื่อมั่นในตนเอง, ความคิดเห็นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรัญประเทศ 2) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรัญประเทศ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้กับความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรัญประเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรัญประเทศ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 218 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ จำนวน 42 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 แบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเอง จำนวน 33 ข้อมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนอรัญประเทศ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนอรัญประเทศ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้กับความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนอรัญประเทศ มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ชุติกานต์ หาญชนะ. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชายขอบจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 4(6), 1-7
ชัชริน เจริญศรี (2560). การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเกาะจันทร์พิทยาคาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมวิพา ทายประโคน. (2560). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุพา เวียงกมล. (2541). ผลการประเมินตนเองโดยใช้แฟ้มสะสมงานที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. ใน วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิวราช อินต๊ะวิชัย. (2563). การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. (2567). ข้อมูลสารสนเทศประจําปีการศึกษา 2567. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2567, จาก http://sakarea2.go.th
อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิบาล สุวรรณโคตร์ & สมหญิง จันทรุไทย. (2563). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 76.
Astin, A. W. (1971). The college environment. American Council on Education.
Agus Salim (2015). General Self-Confidence and Its Implication On Students’ Achievement In Oral Presentation. JEELS (Journal of English Education and Linguistics Studies),2(2),34-48.
Bandura, A. (1997). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970, Autumn). Determing Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement,30(3), 607-610.
Orth, U., & Robins, R. W. (2014).The development of self-esteem. Current Directions in Psychological Science, 23(5), 381-387.