ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนตำบลนาแกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพคีรี, องค์การบริหารส่วนตำบลนาเหล่าองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, บุคลากร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานให้เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน อบต.นาแก,อบต.เทพคีรี,อบต.นาเหล่า,อบต.วังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ประชากรที่ใช้ในการการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบล 61 ลูกจ้างประจำ 6 พนักงานจ้าง 121 รวม 188 คน เป็นกลุ่มประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน อบต.นาแก,อบต.เทพคีรี,อบต.นาเหล่า,อบต.วังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.48 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมและความมั่นคงในการทำงาน ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย 3.70 รองลงมาคือด้านนโยบายและการบริหารค่าเฉลี่ย 3.67 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านประโยชน์ตอบแทน ค่าเฉลี่ย 3.29 2) การเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ที่จำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ และอายุ ไม่แตกต่างกัน ทั้งโดยรวมและรายด้าน ซึ่งไม่เป็นไปตามมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง รายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ข้อเสนอแนวเกี่ยวกับระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่บุคลากรอย่างเพียงพอ ควรนำผลการได้รับรางวัลต่าง ๆ ของบุคลากร ไปประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละรอบการประเมินอย่างเป็นรูปธรรม
References
จุฑารัตน์ ดีวิ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
จุฑารัตน์ ดีวิ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2567). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดหนองบัวลำภู. เรียกใช้เมื่อวันที่ 27 ตุลคา 2567 จาก
https://www.opsmoac.go.th/nongbualamphu.
ปฐมวงค์ สีหาเสนา. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
บุษบา เชิดชู. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุงจังหวัดจันทบุรี. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พวงเพชร วัชรอยู่. (2537). แรงจูงใจกับการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์
ราตรี พัฒนารังสรรค์. (2556). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏ.
มณีรัตน์ ชัยยะ และคณะ. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล. Journal of Administrative and Management Innovation,11(1),104-113.