กลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, ทุติยปาปณิกสูตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ผู้ให้ข้อมูลระยะที่ 1 คือผู้บริหารสถานศึกษา โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม สร้างกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร พบว่ามี 5 แนวทางการพัฒนาดังนี้ 1. แนวทางการดำเนินการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร 2.แนวทางการนำเสนอบทสรุปข้อมูลของสถานศึกษา 3.แนวทางการสรุปผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในแต่ละปีการศึกษาโดยเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายให้เห็นเด่นชัด 4.แนวทางการวิเคราะห์เพื่อวางแผนปรับปรุง และพัฒนาการกำหนดค่าเป้าหมายคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในแต่ละปีการศึกษา 5. แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
- ผลการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ผลการวิจัยพบว่า ได้แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ด้านจักขุมา 10 แนวทาง ด้านวิธูโร 5 แนวทาง ด้านนิสสยสัมปันโน 5 แนวทาง
- ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพ ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ
References
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก (กุมภาพันธ์ 2561).
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.(2566). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง.(2562). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์อภิชาตการพิมพ์.
ทนง ทศไกร. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุกันยามาศ มาประจง.(2563) .การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2561. คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2567 จาก http://www.qa.ru.ac.th/qa/images/document/qads61.pdf