การศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วน ตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศตวรรษ ฤทธิ์มหา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร, บุคลากร, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ทำงาน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรองค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ ทั้งหมด จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีและการมดสอบเอฟ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านพฤติกรรม รองลงมาคือด้านการรับรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านความรู้สึก
  2. ผลการเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมพบว่า บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน
  3. แนวทางการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรองค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในเรื่องค่าตอบแทนที่เหมาะสมจัดสรรสวัสดิการให้ครอบคลุม เพื่อยกระดับความผูกพันต่อองค์กร

References

ณัฏฐพันธ์เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พิศมัย เจริญพันธ์. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มบริษัทจินดาสุข สำนักงานใหญ่ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าพนักงานกลุ่มบริษัทจินดาสุข สำนักงานใหญ่.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2554). แนวคิดและหลักการทั่วไปในการบริหารท้องถิ่น. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีรวัชร์ บุญส่ง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ของความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงาน บริษัท ฟู้ดสตาร์ จำกัด.สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิสิทธิ์ เครือสา. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง ปทุมธานี. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารส่วนตำบลคำเลาะ. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2567 จาก https://www.khamlo.go.th/index.php/first-page

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14