ภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • อุษณีย์ พันธนาม วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สุวัฒน์ อาษาสิงห์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วศิน สอนโพธิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมาย, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3  
2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3  และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ปีการศึกษา 2567  จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ

ผลการวิจัย พบว่า

1) ระดับภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า 1) ด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ ควรมีประชุมร่วมกัน วางแผนงานอย่างเป็นระบบในการดำเนินงานกับผู้รับผิดชอบงาน และนำเสนอให้ทราบโดยทั่วกัน 2) ด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน ควรเปิดโอกาสให้ครูเข้าพบ มีความยืดหยุ่น ทั้งด้านเวลา และสถานที่ 3) ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ครูมีเวทีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาองค์กร 4) ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงาน ควรสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่เปิดกว้าง และเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ กำหนดวาระที่ชัดเจนในการทำงาน

References

ก้องภพ วิชญกูล. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับมาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พรทิพย์ อันสีเมือง. (2565). ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 312-328.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม : กสิลาการพิมพ์.

วรุจ วรดล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วินนา พลชำนิ. (2566). ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 463-473.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 : นครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ :

สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2567. จาก : https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.

สุปราณี คลังจินดา. (2566). ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุดารัตน์ นารอยี. (2564). ภาวะผู้นำตามวิถีทางและเป้าหมายของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Educational and Psychological Measurement, 30(3),

-610.

Steers, R.M. (1991). Introduction to organizational behavior. New York : Harper and Collin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28