การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • ศิรวิทย์ พันธนาม วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สุวัตน์ อาษาสิงห์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วศิน สอนโพธิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหารความขัดแย้ง, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ปีการศึกษา 2567  จำนวน 322 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเอาชนะ ด้านการหลีกเลี่ยง และด้านการยอมให้ มีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการร่วมมือ และด้านการประนีประนอม มีการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า ผู้บริหารสถานควรใช้อำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ มีกฎระเบียบอย่างยุติธรรมเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา สร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และเป้าหมายของงานให้บุคลากรในสถานศึกษาเห็นถึงความสำคัญของงานนั้น ๆ ควรการแก้ไขปัญหาโดยยึดทางสายกลาง มุ่งความพึงพอใจของผู้อื่น เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยใช้เหตุผลและข้อมูล ฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายก่อนตัดสินใจ มีการวางเฉยเป็นทางเลือกที่ดี หากเป็นปัญหาเล็กน้อย และไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ และเสียสละเวลาส่วนตนให้กับส่วนร่วม ชุมชน

References

จตุรงค์ สุวรรณแสง. (2566). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 4(1), 1-19.

ต่อศักดิ์ ศรีแก้วแฝก. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 11-20.

ธีระศักดิ์ หอมสมบัติ. (2566). การบริหารความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2567. จาก : http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.

นิรอฮายา เจษฎาภา. (2566). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 57 ก, 1 พฤษภาคม 2562.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

เศรษฐพล บัวงาม. (2563). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2567). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 : นครราชสีมา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2567. จาก : https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28